วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักธรรมง่ายๆ16ข้อ

พรหมวิหาร 4   อิทธิบาท4   อริยสัจ4   และสังคหวัตถุ 4  

พรหมวิหาร 4” หลักธรรมประจำใจ

พรหมวิหาร 4   ประกอบด้วย
ความเมตตา  กรุณา  มุทิตา  และอุเบกขา 
เพื่อให้ชีวิตตนเอง  ครอบครัวและคนรอบข้าง 
เกิดความร่มเย็นเป็นสุขไปทั่ว

1. เมตตา  : 
ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุขทั้งทางกายและใจ
2. กรุณา   :  
ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ทั้งทางกายและใจเช่นกัน
3. มุทิตา   :  
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีในเรื่องต่างๆ
  โดยไม่คิดริษยา
4.อุเบกขา :  
การรู้จักวางเฉย
  หรือวางใจเป็นกลาง เพื่อพิจารณา 
สิ่งต่างๆ ไม่ซ้ำเติมผู้ที่ตกอับ พร้อมกับมีน้ำใจให้ความ 
ช่วยเหลือตามสมควร  

อิทธิบาท 4” หลักธรรมเพื่อความสำเร็จ
อิทธิบาท  แปลว่าบาทฐานแห่งความสำเร็จ  
หมายถึงสิ่งซึ่งมีคุณธรรม เพื่อให้ลุถึงความสำเร็จ
ตามที่ตั้งใจ
  ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด  ต้องทำตน
ให้สมบูรณ์
  โดยมีพื้นฐานจาก 4 ข้อนี้

5. ฉันทะ  :  
ความพอใจในสิ่งที่ตนมี
  ตนเป็น  ไม่ต้องการอยากได้ 
ใคร่มีมากเกินไป ซึ่งจะนำมาสู่ความโลภ
6. วิริยะ :
ความพากเพียรในสิ่งนั้น ไม่ย่อท้อง่ายๆ เมื่อพบกับอุปสรรค

 7. จิตตะ :
ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ ไม่ล้มเลิกความตั้งใจกลางคันง่ายๆ
มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นๆ

8. วิมังสา  : 
ความมีเหตุมีผลในเรื่องนั้นๆ  ความรู้จริงด้วยการศึกษา
อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ เพื่อความเข้าใจ และความสำเร็จ 

อริยสัจ 4”  ความจริงแห่งชีวิต
เป็นความจริง 4 ประการที่ทุกคนต้องเคยพบ  
คือการมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
  ความดับทุกข์  
และหนทางไปสู่ความดับทุกข์
  

9.  ทุกข์  : "ความทุกข์เกิดขึ้นได้จากภาวะเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย "
ความไม่สมหวังทั้งปวง รวมไปถึงความสูญเสีย ความ
โกรธ  ความริษยา  อาฆาต  ความวิตกกังวล  ความกลัว 
ความอยาก  ความยึดมั่นถือมั่น  การพรัดพราก ฯลฯ 
เหล่านี้ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

10. สมุทัย : 
เหตุแห่งทุกข์  คือการพิจารณาถึงที่มาของทุกข์นั้นว่า
เพราะอะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไร

11. นิโรธ  :
ความดับทุกข์  เมื่อรู้ต้นเหตุของความทุกข์แล้ว ก็ต้อง
หาทางกำจัดเสีย  ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก  หรือเกิดก็
น้อยลง  โดยการทำความเข้าใจและยอมรับความจริง
ของชีวิต

12. มรรค  : 
หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์
  คือการใช้ชีวิตอย่างมีสติ
 เพื่อให้เกิดปัญญา ที่จะชี้นำไปสู่หนทางของการพ้นทุกข์  

สังคหวัตถุ 4”  เพื่อการยึดเหนี่ยวจิตใจ
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น 
เป็นการผูกไมตรีด้วยการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน

13. ทาน  :  
การให้
  การเสียสละ  การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว  ไม่ยึดติดวัตถุ  และ
คำนึงเสมอว่าไม่มีสิ่งใดยั่งยืน

14. ปิยวาจา : 
การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน
  จริงใจ
ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์
เหมาะกับกาลเทศะ ถือเป็นบันไดขั้นแรกในการ
สร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

15. อัตถจริยา :
การให้ความช่วยเหลือด้วยจิตในที่เป็นกุศล


16. สมานัตตา : 
การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ
  โดยประพฤติตัวให้มี
ความเสมอต้นเสมอปลาย  ช่วยให้เป็นคนจิตใจ
หนักแน่น  ไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความ
นิยม  และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย